Category: เรื่องเล่าจากงานประจำ

เล่าเรื่องงานประจำของชาวสำนักหอสมุด

ระบบประตูอัตโนมัติด้วย QRCode และ บัตรประชาชน

เมื่อช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้นิสิตไม่ได้เดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัย จำนวนมาก เนื่องการมีการเรียนการสอนออนไลน์ แต่เมื่อมีนิสิตมาจำนวนหนึ่ง พบว่ายังไม่ได้จัดทำบัตรนิสิต ทำให้การเข้าใช้บริการค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากมีนโยบายงดรับแลกบัตร เพื่อลดการสัมผัสกับผู้ใช้บริการ งานเทคโนโลยีสำนักหอสมุด โดยคุณเกดิษฐ เกิดโภคา ได้ทดลองนำเอา QRCode ในแอพลิเคชั่น NU More มาปรับใช้กับหัวอ่าน ประตูอัตโนมัติ ของสำนักหอสมุด ที่จากเดิมใช้เพียงบัตร RFID เท่านั้น ให้ใช้ผ่าน QRCODE ได้ เมื่อทดลองใช้ก็สามารถนำมาให้บริการได้ รวมไปถึงการเพิ่มข้อมูลบัตรประชาชนแก่บุคคลภายนอกที่ต้องการเข้าใช้บริการอีกด้วย ซึ่งจากการปรับปรุงระบบทำให้ได้รับความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ…

อะไรบ้างนะ? ในการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์

Ep.1 ประเภทของผู้จัดจำหน่าย E-Journal จากบทบาทการทำงานด้านการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ทราบว่าการจัดหาฯ ไม่ใช่จะเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญในแง่เนื้อหาของฐานข้อมูลเป็นหลักอย่างเดียวเท่านั้น ในการจัดหาฯยังคงมีรายละเอียดในเนื้องานหลายๆอย่างที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการบอกรับ ลักษณะของฐานข้อมูล เงื่อนไขราคา และข้อกำหนดต่างๆ รวมถึง ลักษณะของผู้จัดจำหน่ายด้วย เพราะหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญต่อการตัดสินใจบอกรับ E-Journal ความน่าเชื่อถือของผู้จัดจำหน่าย การให้บริการอย่างต่อเนื่องและทันท่วงที การดูแลลูกค้า เงื่อนไขและข้อกำหนดที่เป็นธรรม ล้วนมีผลต่อการพิจารณาบอกรับทั้งสิ้น ดังนั้นใน Blog นี้จึงขอเลือกนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของรูปแบบผู้จัดจำหน่าย E-Journal มาให้อ่านกันก่อนนะคะ ประเภทของผู้จัดจำหน่าย E-Journal Publisher คือ สำนักพิมพ์ผู้เป็นเจ้าของ…

สถิติและการนำเสนอข้อมูลแบบขั้นต้น

เอกสารประกอบการอบรม สถิติและการนำเสนอข้อมูลแบบขั้นต้น รุ่นที่ 1 สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเองนะคะ อบรมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากคลิปวิดีโอสงวนสำหรับผู้เข้าอบรมใช้ดูย้อนหลังเท่านั้น หากสนใจเข้าอบรมด้วยตนเอง ที่ CITCOMS มีเปิดอบรมรุ่น 2 แล้วนะคะ เอกสารประกอบ ลิงก์ไปที่หลักสูตรอบรม https://training.nu.ac.th/

การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจ

ที่มาในการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจ “เนื่องจากในการประเมินกิจกรรมทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาบุคลากรจะมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจน้อยมาก “ ดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนวิธีการโดยการสร้างฟอร์มส่งอีเมลและเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และตอบแบบประเมิน ทั้งนี้ได้เรียนรู้จาก youtube หลังจากปรับเปลี่ยนรูปแบบแล้วบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจมากขึ้น จากคนที่ไม่เคยตอบ ก็จะตอบแบบประเมิน จากที่เคยมีผู้ตอบแบบประเมินไม่ถึงครึ่งของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พอปรับเปลี่ยนวิธีการแล้วมีบุคลากรตอบเพิ่มมากขึ้นถือว่าเป็นร้อยละ 100 ได้เลย แต่ทั้งนี้ก็กำหนดระยะเวลาให้ตอบแบบประเมินไม่เกิน 2 วัน ซึ่งเมื่อก่อนจะให้ระยะเวลา มากกว่า 5 วัน แต่ก็ยังมีบุคลากรตอบน้อยกว่าการปรับเปลี่ยนวิธี และรูปแบบการประเมิน เหมือนมีสิ่งแลกเปลี่ยนที่บุคลากรจะได้รับเพื่อนำไปประกอบในการบันทึกภาระงานประจำวัน การพัฒนาตนเอง และการประเมิน win win…

New Normal สู่ Next Normal

ห้องสมุดกับการก้าวผ่าน จาก New Normal สู่ Next Normal กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ของหอสมุดแห่งชาติ ที่จัดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ผ่านทาง Zoom น่าเสียดายทางผู้จัดไม่ได้เผยแพร่คลิปสำเนาไว้ เลยเอามาเล่าเฉพาะเรื่องที่จำได้ และน่าสนใจสำหรับห้องสมุดนะคะ การบรรยายหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน และส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดย ดร. ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีด้านการศึกษา ท่านได้บรรยายเรื่องเกี่ยวกับ Metaverse ที่กำลังเป็น Hot issue…

ความรู้เรื่อง Systematic Reviews

“วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 นี้ จะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการบรรยายโดยวิทยากรจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 ท่าน คือ คุณชมพูนุช สราวุเดชา และคุณทิพวรรณ สุขรวย นะคะ” หัวข้อแรกเป็นเรื่อง “ประสบการณ์ในการสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ และการทบทวนวรรณกรรมโดยใช้กระบวนการของ Systematic reviews “ และหัวข้อที่สองเป็นเรื่อง “ประสบการณ์ในการสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ และแหล่งข้อมูล Open Access” สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ Systematic…

การแปลงเทปธรรมะ ห้องท่านคุณหญิงมณีรัตน์ บุนนาค

สาเหตุแห่งปัญหา เนื่องจาก สำนักหอสมุดยังมีการบริการเทปธรรมะ ในห้องธรรมะ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ อยู่เสมอ จากการผู้ใช้บริการแจ้งขอใช้บริการในแบบฟอร์ม มาอย่างสม่ำเสมอ งานเทคโนโลยี จึงบริการเป็นไฟล์ดิจิตอล นัดผู้ใช้มารับด้วยตนเอง หรือส่งในอีเมลล์ของผู้รับบริการในปัจจุบันไม่มีเครื่องเล่นเทปคลาสเซ็ท ดังกล่าวแล้ว กอรปกับอายุแถบเสียงเก่ามาก หากผู้เขียนไม่รีบดำเนินการแปลงสัญญานด้วยระบบดิจิตอลก็จะเสื่อมสภาพลงไปทุกวัน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.เตรียมเครื่องเล่นและเครื่องคอมพิวเตอร์รองรับการทำงาน 2. ศึกษาโปรแกรมที่จะดำเนินการแปลงสัญญาณให้เป็นระบบดิจิตอล 3.ลงโปรแกรมรองรับ 4.คัดเลือกเทปเสียง 5.ทำความสะอาดม้วนเทป ด้วยการเป่า ปัดฝุ่น กรอเดินหน้า ถอยหลังด้วยเครื่องเล่นเทปคลาสเซ็ท หากเทปหลุด แก้ไขติดแถบเสียงให้เรียบร้อย 6. ล้างหัวเทปเครื่องเล่นเทปเสียง…

บริการส่งหนังสือทางไปรษณีย์ถึงบ้านช่วง COVID-19

Call for Book for Work from Home สำนักหอสมุดให้บริการจัดส่งหนังสือผ่านไปรษณีย์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ *********************** อยากได้เล่มไหนก็ขอกันมาได้เลยค่า ยืมให้ไม่เกิน 5 รายการ / คน เฉพาะรายการหนังสือของสำนักหอสมุด และห้องสมุดสาขาฯ คลิกขอใช้บริการได้ที่ http://bit.ly/2JGBrch สืบค้นรายชื่อหนังสือที่ http://opac.nu.ac.th/ *ส่งผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น ฟรี! ค่าใช้จ่าย* **รายการที่ดำเนินการยืมให้ ระบบจะแจ้งเตือนไปในไลน์บอท โปรดเพิ่มเพื่อน @nulibrary และลงทะเบียนให้เรียบร้อย…

9 หนังสือน่าอ่าน ที่สำนักหอสมุด ม.นเรศวร #2

แนะนำหนังสือน่าอ่าน จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร อัพเดต กันยายน 2563 หนังสือทุกเรื่องการันตีจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ และ นักท่อง Facebook ที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือต้องแนะนำให้คนท่ี่ชอบอ่าน 1. 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 1 หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจที่มาของสิ่งที่เรียกว่า ความรัก ความผูกพัน และความเชื่อใจ โดยจะพาคุณไปหาคำตอบว่า ธรรมชาติสร้างความรัก ความผูกพัน และความเชื่อใจ มาเพื่ออะไร ? อ่านฟรีที่สำนักหอสมุด ม.นเรศวรเลยเลขเรียกหนังสือ BF511 ช356ห…

แนะนำเครื่องมือช่วยค้นแหล่งตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ

สำหรับบุคลากรที่ต้องให้บริการที่เคานเตอร์บริการยืม-คืน ช่วงทำการปกติ หรือช่วงล่วงเวลา บางทีอาจจะมีอาจารย์ หรือนิสิตปริญญาโท-เอก โทรมาสอบถาม เรื่องข้อมูลของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์เผยแพร่ หลายท่านอาจจะไม่ทราบ จึงขอแนะนำคร่าวๆเป็นเบื้องต้นนะคะ ค่า Journal Impact Factor อันนี้เป็นค่าที่เป็นตัวเลข ที่คำนวณให้สำหรับวารสารที่จัดว่ามีคูณภาพ พูดง่ายๆคือ เป็นสถิติเฉลียของการที่บทความในวารสารถูกนำไปอ้างในรอบปีนั้นๆ ถ้ามีคนถามว่า ค่า Impact Factor ของวารสารเท่าไหร่ ของวารสารไทย จะใช้ค่าล่าสุดปี 2561 ซึ่งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ TCI เป็นคนกำหนดนะคะ จะมีลิงก์อยู่ในเว็บไซต์นี้…