“วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 นี้ จะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการบรรยายโดยวิทยากรจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 ท่าน คือ คุณชมพูนุช สราวุเดชา และคุณทิพวรรณ สุขรวย  นะคะ”

 

 

หัวข้อแรกเป็นเรื่อง “ประสบการณ์ในการสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ และการทบทวนวรรณกรรมโดยใช้กระบวนการของ Systematic reviews “  และหัวข้อที่สองเป็นเรื่อง “ประสบการณ์ในการสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการ และแหล่งข้อมูล Open Access”  

สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ Systematic Reviews และแหล่งศึกษาเพิ่มเติมไว้ก่อน  ส่วน Open Access อาจศึกษาจากเนื้อหาการบรรยายโดยวิทยากรในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ได้นะคะ  

Systematic reviews  คือ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ   (Systematic Review: SR) หมายถึง การศึกษาค้นคว้า รวบรวม ผลงานวิจัยที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน โดยผ่านกระบวนการประเมินค่าคุณภาพงานวิจัย และคัดเลือกผลงานวิจัย ที่ได้มาตรฐาน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ นำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ เพื่อนำมาอ้างอิงในงานวิจัย

 

ส่วนใหญ่การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มักพบได้ในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ซึ่งหากไปลองค้นในงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร จะมีงานที่ใช้กระบวนการ systematic reviews ระบุในชื่องานด้วยหลายเล่ม  ตัวอย่าง เช่น วิทยานิพนธ์และงานวิจัยทางด้านเภสัชศาสตร์ในห้องสมุดของเราก็มีค่ะ 

 

สำหรับแหล่งศึกษาเพิ่มเติม มีการบรรยายที่เคยจัดโดย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเอกสารจากหลายแหล่งตามด้านล่างนี้นะคะ 

 อ้างอิงจาก  อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ(Systematic Review) วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ วันที่ 19 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

บทความที่เกี่ยวข้อง  http://www.clinicalepi.com/2009/05/systematic-review-meta-analysis.html

https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTA0MjE2 

https://isecosmetic.com/wiki/Systematic_review

ถอดบทเรียนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง systematic review  ของคณะพยาบาลศาสตร์ มสธ