เมื่อพูดถึง “สื่อเสียง”  : เราก็ต้องนึกถึงการฟังเพลงผ่านรายการวิทยุ AM/FM ซึ่งเมื่อก่อน (ยุค60-90) มีรายการวิทยุจำนวนมากพวกHotwave / Green Wave แต่ด้วยโลกเทคโนโลยีที่หมุนเร็ว (ที่เรียกว่าTechnology Disruption) ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนเร็วเช่นกัน

1.สื่อดิจิทัล (ประเภทเสียง)

สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยี+ด้านคอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์ หรือ ตัวกลางที่ถูกสร้างขึ้น มาจัดการตามกระบวนการ  และวิธีการผลิตโดยนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งาน  และตรงกับวัตถุประสงค์ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำงานโดยใช้รหัสดิจิตอล  แยกแยะระหว่าง “0” กับ “1” ในการแสดงข้อมูล

2.Podcast คืออะไร ? /ทำไม Podcast ถึงได้รับความนิยม ?

Podcast เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเเปิดตัวของ Ipod ในปี 2001 แต่ในประเทศไทยมาโด่งดังมีการเผยแพร่มากขึ้น ในปี2559 โดย คุณโหน่งวงษ์ทนง ผู้ก่อตั้ง นิตยสาร Aday อีกตัวคือ วิทย์แคส เรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์ 

พอดแคสต์ สื่อเสียงรูปแบบใหม่ในด้าน เนื้อหา รูปแบบ วิธีนำเสนอ รวมทั้งวิเคราะห์อัตลักษณ์เฉพาะตัวของพอดแคสต์ที่เข้าถึงคนเจเนอเรชันใหม่ โดยมีกรอบการวิเคราะห์ตามแนวคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ 

ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้พอดแคสต์เติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะเข้ากับพฤติกรรมของคน Gen Y และ Z ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและมักเปิดรับสื่อมากกว่า 1 สื่อไปพร้อมกัน และลักษณะของสื่อเสียงที่ไม่ต้องอาศัยสมาธิและความต่อเนื่องในการฟังจึงเอื้อให้ฟังไปพร้อมกับทำกิจกรรมอื่นควบคู่ได้แบบทุกที่ทุกเวลา

ข้อดีของ Podcast

นอกจากดาวน์โหลดมาฟังได้แล้ว Podcast ยังสามารถแบ่งเป็นตอนๆ ให้เราฟังได้สะดวก ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แถมคุณภาพเสียงยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทีไหนก็ฟังได้! ไม่ว่าจะตอนรถติด เดินทางไป-กลับที่ทำงาน ไปเที่ยว หรือแม้แต่บนเครื่องบิน!

3.Podcast + ห้องสมุด

ปัจจุบัน ห้องสมุดหลายแห่งได้รวบรวมไฟล์เสียงพอดแคสต์ เพื่อเป็นคอลเลกชันสำหรับให้บริการประหนึ่งเป็นหนังสือเสียง (audio book) โดยจัดทำเป็นแอปพลิเคชันให้ใช้งานผ่านอุปกรณ์โมบาย หรือทำเป็นจุดบริการในห้องสมุดสำหรับดาวน์โหลดไฟล์

นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุดหลายแห่งที่ได้พัฒนาเนื้อหาขึ้นเอง โดยใช้แอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น Soundcloud, Spotify, Apple Podcasts, YouTube เป็นการสร้างช่องทางให้บรรณารักษ์สามารถสื่อสารเรื่องหนังสือและการอ่านกับผู้ใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง นอกเหนือไปจากการพบปะลูกค้าที่เคาน์เตอร์ให้บริการ

4.Podcast : ศูนย์เทปธรรมะท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดำเนินงานจัดทำทรัพยากรสารสนเทศพิเศษ (Special Collection) ด้วยการนำเทปธรรมะแบบคลาสเซ็ตเก่าซึ่งไม่ได้นำออกให้บริการแล้ว จำนวน 1,130 ตลับ จากศูนย์เทปธรรมะท่านมณีรัตน์ บุนาค แปลงเป็นไฟล์mp3 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถให้บริการเผยแพ่รบนพ็อตคลาสท์ (Podcast) ซึ่งถือเป็นความรู้ในรูปแบบของเสียง เพื่อการเผยแพร่แก่นิสิตอาจารย์  บุคลากร  และประชาชนทั่วไป  ให้สามารถฟังผ่าน platform ต่างๆ  ได้ทุกที่ ทุกเวลา

  • มีการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบเสียงผ่าน Podcast : ศูนย์เทปธรรมะท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค 
  • โดยผู้ใช้บริการสามารถรับฟังให้สามารถฟังผ่าน platform ต่างๆ ถึง 7 platform ได้ทุกที่ ทุกเวลา

  • สามารถเข้าฟังและดูสถิติการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและสถิติการเข้าฟัง https://anchor.fm/dashboard#

  • PODCAST RANKINGS

    • Best Buddhism Podcasts (Thailand)

    • PODCAST RANKINGS

    • Apple Podcastsบทสรุป

จุดประสงค์ในการทำพอดแคสต์เนี่ย ก็คล้ายๆ กับการเขียนบล็อก ทำคลิปยูทูปเลย คือทำเพื่อแชร์ความรู้ ประสบการณ์ หรือทำเพื่อแชร์ความบันเทิงให้กับกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กันฟัง แค่รูปแบบในการรับสารมีแค่เสียงเท่านั้นเอง เพราะในปัจจุบันคนยุคใหม่มีแนวโน้มที่จะทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ขับรถไปด้วย เปิดพอดแคสฟังไปด้วย หรือนั่งทำงานเพลินๆ ออกกำลังกายเพลินๆ แล้วก็เปิดพอดแคสฟังไปพร้อมกัน เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าไป

นอกจากนั้นก็ยังได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำพอดแคสต์ให้น่าสนใจ ได้เก็บสถิติข้อมูลของคนที่มาฟังว่าเค้าชอบฟังเรื่องอะไรกัน ทำให้เราสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อหาหัวข้อเล่าเรื่องที่โดนใจ สินค้า และบริการใหม่ๆ และอีกข้อที่สำคัญคือ ทำให้ตัวเราเองนั้นพัฒนาขึ้น เพราะเราต้องค้นคว้าข้อมูลแล้วนำมาเรียบเรียงให้คนฟังได้เข้าใจอยู่เป็นประจำ