Month: April 2022

เล่นสนุกกับข้อมูลด้วย Google Data Studio

สืบเนื่องจาก การอบรม การสร้าง Data Studio and Big Query กับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ วันที่ 25 และ 26 เมษายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ด้วย MS Teams วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงษ์ สุวรรณราช ซึ่งจัดโดย กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS) Google Data Studio เป็น…

Personal Data Protection Act (PDPA) หรือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” กับเรื่องใกล้ตัวในยุคดิจิตอลในรูปแบบ Infographic

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้มีช่องทางการเข้าถึง หรือเก็บรวบรวม เปิดเผยข้อมูลส่วนลุคคลอันเป็นการละเมิดได้โดยง่าย ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับ สรุปสาระสำคัญ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผ่านทางรูปแบบ Infographic สวยๆ เข้าใจง่ายกับภาษากฏหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 27 พ.ค. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเริ่มใช้บางหมวด เริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบ 1 มิ.ย. 2565 ขอบเขตและข้อยกเว้น การใช้บังคับ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.…

Library Everywhere เพื่อนที่ไม่เคยห่างคุณ

ห้องสมุดเคลื่อนที่ ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้ใช้บริการห้องสมุดบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ไม่มีเวลาเข้าห้องสมุด ห้องสมุดมีที่จอดรถไม่เพียงพอ ห้องสมุดอยู่ไกลจากที่พัก และมีการใช้บริการในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้จากการที่ห้องสมุดมีการบริการที่หลากหลาย อีกทั้งผู้ใช้บริการที่กระจายตัวอยู่ทั้งมหาวิทยาลัย ดังนั้นฝ่ายบริการสารสนเทศจึงเห็นสมควรจัดโครงการนี้เพื่อการให้บริการเชิงรุก โดยเข้าถึงผู้ใช้บริการด้วยการออกให้บริการนอกสถานที่ ในจุดบริการต่าง ๆ ที่กำหนดทั่วมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก ในบริการต่าง ๆ เช่น การรับส่งหนังสือ ชำระค่าปรับ และเพื่อการประชาสัมพันธ์การให้บริการต่าง ๆ ของสำนักหอสมุด ตลอดจนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสำนักหอสมุดอีกด้วย

หนังสือชำรุดซ่อมได้ให้น่าอ่าน สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

สำหรับ blog นี้ ผมขอแนะนำอุปกรณ์และวิธีซ่อมหนังสือแบบง่ายๆ ดังนี้นะครับ อุปกรณ์การซ่อมหนังสือ 1.เครื่องอัดหนังสือให้เรียบ 2.อุปกรณ์การซ่อมขนาดเล็ก 3.เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์สันหนังสือและทำปกหนังสือ 4.หนังสือซ่อมเตรียมติดปกหน้า 5.หนังสือซ่อมเสร็จแล้ว 6.หนังสือก่อนการซ่อม 7.ผ้าแร็กซีนหุ้มปกหนังสือ 8.กระดาษแข็งทำปกหนังสือ 9.สว่านแท่นเจาะรูหนังสือ 10.แม็กเย็บหนังสือ 11.ผ้าขาวหรือผ้าดิบเขียนป้าย 12.แผ่นยางรองตัด 13.กระดาษการ์ดขาว 14.ผ้าคิ้วหนังสือ 15.กาวลาเท็กซ์ TOA วิธีการซ่อมหนังสือ 1.ดึงปกหนังสือออกจากตัวเล่ม เจาะรูเย็บเชือกหนังสือ 4 รู ห่างจากสัน 1 ซม.…

สืบค้นหนังสือแบบง่ายๆ รวดเร็ว ถูกต้อง และไม่ยุ่งยากมากจนเกินไปภายใน 2 นาที

สำนักหอสมุดเป็นศูนย์การแห่งการเรียนรู้ และสนับสนุนการเรียนการสอน ทั้งนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ รวมไปถึงผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักหอสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ระบบฐานข้อมูลที่รองรับในการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด ในรูปแบบ Ebooks แต่ทั้งนี้สำนักหอสมุดยังมีการจัดซื้อหนังสือในรูปแบบตัวเล่มเข้าสำนักหอสมุดทุกๆ ปี ผ่านโครงการ NUbook fair ในการนี้การใช้หนังสือแบบรูปเล่มเปิดอ่านยังมีความสำคัญในห้องสมุดอยู่ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแค่ไหนในยุคปัจจุบัน หนังสือยังมีความเป็นจำต่อหอสมุดอยู่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งถ้าจะหาหนังสือสักเล่มหนึ่งภายในสำนักหอสมุดของเราต้องรู้จักวิธีการ สืบค้นหาหนังสือเล่มนั้น ๆ เสียก่อนที่จะไปหยิบมันขึ้นมาอ่านได้ ขั้นตอนและวิธีการสืบค้นหนังสือ ให้การสังเกต Location Code เมื่อทำการสืบค้น จะสามารถดู Location…

สิ่งสำคัญที่สุด การจัดทำคลังเอกสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยนเรศวร (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) NU Intellectual Repository

การขออนุญาตเผยแพร่ผลงาน

วิธีการบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมลงระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

แท็กสำคัญๆๆที่เราจะลงรายการบรรณานุกรม 1. 020 ISBN International Standard Book Number (เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ) 2. 100 ชื่อผู้แต่ง (Title) 3. 245 ชื่อเรื่อง (Author) 4. 246 ชื่อเรื่องอื่นๆ ที่ลงรายการในหมายเหตุ (Varying Form Title) 5. 250 ฉบับพิมพ์ (Edition Statement) 6.…

หาหัวข้อไม่ยาก สืบค้นง่าย ๆ ที่ ThaiLis

แนะนำการค้นหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ในฐานสืบค้น TDC โดยเข้าไปได้ที่ https://tdc.thailis.or.th/tdc/ เมื่อน้อง ๆ เข้ามาแล้ว ให้ทำการค้นหา โดยวิธีการ Browse สามารถเลือกป้อนหัวเรื่อง ในช่อง และใส่คำค้นที่น่าสนใจ เสร็จแล้วทำการ กดปุ๋ม “ค้น” ในที่นี่ จะทดลองค้นด้วยคำว่า “ออนโทโลยี” จะเห็นได้ว่า หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ออนโทโลยี จะปรากฎให้เข้าไปศึกษาได้ครับ

เคาน์เตอร์บริการ

หลังบ้านมีอะไร? บริการแจ้งหาไม่พบที่ชั้น/Book not Found บริการเสริมเพิ่มช่องให้ผู้ใช้บริการ กรณีหาหนังสือไม่พบที่ชั้น โดยการกรอกแบบฟอร์มบริการรับเรื่องรายการหาหนังสือไม่พบบนชั้นแบบออนไลน์ ผ่านหน้าเว็บ OPAC และระบบจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่โดยอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการหาหนังสือให้ ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับหนังสือได้ที่ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 อาคารเรียนรู้ บริการ Books Not Found คือบริการค้นหาหนังสือที่ท่านหาไม่พบบนชั้นหนังสือ หากท่านค้นหาหนังสือจาก Web OPAC แล้วหนังสือมีสถานะเป็น Available…

การจัดทำโสตทัศนวัสดุจากระบบอนาล็อกให้เป็นระบบดิจิทัล

ปัจจุบันสื่อโสตทัศนวัสดุ ทุกประเภท ไม่เป็นที่นิยมเหมือนสมัยก่อน การจัดหาอุปกรณ์สำหรับเปิดอ่านเริ่มลำบากมากขึ้น และบางแผ่นที่ไม่ได้ใช้งานมานาน เริ่มจะเสื่อมสภาพ เพื่อไม่ให้สื่อโสตทัศนวัสดุที่กำลังจะหมดยุคไปตามกาลเวลา และพร้อมที่จะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน นั้น จึงเป็นที่มาของ ” การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อก เข้าสู่ ดิจิทัล” การเสื่อมสภาพจะใช้เวลายาวนานกว่า ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้งาน เพราะการจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบไฟล์ดิจิทัล เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่องต่อไป