ชวนมารู้เรื่อง UI GreenMetric World Universities Ranking

ความเป็นมาการจัดอันดับของ UI GREEN METRIC WORLD UNIVERSITY RANKING

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยูไอ กรีนเมตริก คืออะไร

มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia: UI) ริเริ่มการจัดอันดับมหาวิทยลัยโลกขึ้นในปี ค.ศ. 2010 ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยูไอ กรีนเมตริก (UI GreenMetric) เพื่อวัดความพยายามเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย โดยมีความตั้งใจจะดำเนินการ สำรวจแบบออนไลน์ เพื่อแสดงให้เห็นโครงการและนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก

เราทำการจัดอันดับอย่างกว้างๆ บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความประหยัดและความ เที่ยงธรรม ตัวชี้วัดและหมวด ต่าง ๆ ในการจัดอันดับจะมีความเกี่ยวเนื่องกันกับแนวคิด ตัวชี้วัด และทำให้ เราออกแบบน้ำหนักคะแนนให้ปราศจากอคติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การรวบรวมและส่งข้อมูลนั้น เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และใช้เวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลในการจัดอันดับกรีน เมตริก เมื่อปี ค.ศ.2010 มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 95 แห่ง จาก 35 ประเทศ แบ่งเป็นจากทวีปอเมริกา 18 แห่ง ทวีปยุโรป 35 แห่ง ทวีปเอเชีย 40 แห่ง และภูมิภาคโอเชียเนีย 2 แห่ง ในปี ค.ศ. 2019 มีมหาวิทยาลัยเข้า ร่วมการจัดอันดับ 780 แห่ง จาก 85 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายูไอ กรีนเมตริก กลายเป็นที่รู้จักใน ฐานะการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืนระดับโลกแห่งแรกและแห่งเดียวอีกด้วย ในปี นี้เราได้กำหนดหัวข้อไว้คือ “Sustainable University in a Changing World: Lessons, Challenges and Opportunities” ซึ่งเรามุ่งเน้นที่ความพยายามของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกับ พันธมิตรในประเด็นเรื่องความยั่งยืน โดยจะพิจารณารายละเอียด ข้อเสนอแนะของมหาวิทยาลัยต่างๆ มา ปรับปรุงด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Goals) ร่วมกัน

จุดประสงค์ คืออะไร

จุดมุ่งหมายในการจัดอันดับ มีดังนี้

  • เพื่อมีส่วนร่วมในวงวิชาการที่ว่าด้วยความยั่งยืนในการศึกษาและการสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียว
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมที่มีมหาวิทยาลัยเป็นผู้นำไปสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืน
  • เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก
  • เพื่อสื่อสารให้รัฐบาล หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสังคม ได้ทราบ ถึงโครงการเกี่ยวกับความยั่งยืนในมหาวิทยาลัย/สถาบัน

ประโยชน์ที่ได้รับ คืออะไร

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับ ยูไอ กรีนเมตริกโดยส่งข้อมูลเพื่อร่วมในการจัดอันดับจะได้รับ คุณประโยชน์หลายประการจากการเข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

  • ความเป็นสากลและการได้รับการยอมรับ การเข้าร่วมในการจัดอันดับยูไอ กรีนเมตริกสร้างเสริมความพยายามที่จะช่วย ทำให้มหาวิทยาลัย มีความเป็นสากลและได้รับการยอมรับโดยให้ความพยายามดังกล่าวของมหาวิทยาลัยเป็นที่ประจักษ์บน แผนที่โลก การเข้าร่วมในการจัดอันดับยังช่วยให้เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมียอดเข้าชมเพิ่มมากขึ้น มีการอ้างและเชื่อมโยงถึงสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความยั่งยืนบนเว็บเพจต่าง ๆ และยังช่วยให้การประสานติดต่อกับสถาบันที่มีความสนใจมหาวิทยาลัยของท่านเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
  • เพิ่มความตระหนักในประเด็นด้านความยั่งยืน การเข้าร่วมการจัดอันดับจะช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนในระดับ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โลกกำลังเผชิญกับปัญหาในระดับสากลซึ่งนับเป็นความท้าทายที่ไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อน เช่น แนวโน้มจำนวนประชากร ภาวะโลกร้อน การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ แบบเกินควร การพึ่งพาพลังงานจากน้ำามันเพียงอย่างเดียว การขาดแคลนน้ำและอาหาร และความยั่งยืน เราตระหนักว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการความท้าทายเหล่านี้ การจัดอันดับ กรีนเมตริกทำให้เห็นถึงบทบาทสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาจะสามารถช่วยสร้างตวามตระหนักโดยทำการ ประเมิน และเปรียบเทียบ ความพยายามด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน งานวิจัยด้านความยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยสีเขียวและการขยายบริการเชิงรุกสู่สังคม
  • การเปลี่ยนแปลงสังคมและการลงมือปฏิบัติ ยูไอกรีนเมตริกเริ่มต้นด้วยการสร้างความตระหนัก แต่ในอนาคตจะมีการนำไปปรับใช้เพื่อกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ถึงเวลาแล้วที่ต้องจะแปรความเข้าใจให้เป็นการปฏิบัติ ซึ่งนับว่ามี ความสำคัญมากกับการเผชิญกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกในขณะนี้
  • การสร้างเครือข่าย ผู้เข้าร่วมการจัดอันดับยูไอกรีนเมตริกทั้งหมดจะถือว่าเป็นสมาชิการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว โลก ของเครือข่าย ยูไอ กรีน เมตริก (UI GreenMetric World University Rankings Network) โดยอัตโนมัติ ในเครือข่ายนี้ผู้เข้าร่วมจะสามารถแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในโครงการต่าง ๆ ที่ว่าด้วยความยั่งยืน รวมไป ถึงการสร้างเครือข่ายกับผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก โดยการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติยูไอ กรีน เมตริก (UI GreenMetricInternational Workshop) ที่จัดขึ้นทุกปีและการการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคและระดับประเทศที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเจ้าภาพที่ได้รับความเห็นชอบ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยัง สามารถจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับยูไอ กรีนเมตริกที่มหาวิทยผู้เข้าร่วมในแต่ละแห่งได้อีกด้วย ในฐานะเวทีที่จะเปลี่ยนให้ประเด็นเรื่องความยั่งยืนกลายเป็นการปฏิบัติ เครือข่ายนี้จะมียูไอ กรีน เมตริกเป็นเลขาธิการ โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานอันประกอบด้วยเลขาธิการ ยูไอ กรีนเมตริก ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคและผู้ประสานงานระดับประเทศ เป็นผู้เสนอและวินิจฉัยโครงการและแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ
  • ที่มา :: GUIDLINE UI GreenMetric World University Rankings 2020
  • ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook https://www.facebook.com/UIGreenMetricWUR/

สำหรับมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมการจัดลำดับในปี 2562 และ มหาวิทยาลัยนเรศวร ติดอันดับที่ 151 มหาวิทยาลัยโลก จาก 780 มหาวิทยาลัยทั่วโลก และ ติดอันดับ 5 จาก 37 มหาวิทยาลัยไทย “ด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก” หรือ “UI GreenMetric World University Ranking”

โดยเป็นการวัดและจัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) เป็นการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยมีมหาวิทยาลัยหลายประเทศให้ความสนใจ เพราะเป็นการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เขียวสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยเกณฑ์การจัดอันดับได้รับการกำหนดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกในความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัย “สีเขียว” และมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน ได้แก่
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
2. Energy and Climate Change (การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
3. Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
4. Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%

และดำเนินการเข้าร่วมการจัดลำดับถึงปัจจุบัน

การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green library) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินงานตามนโยบายและเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การดำเนินงานนั้นเริ่มจากนโยบายในการบริหารและพัฒนาสำนักหอสมุดระยะ 4 ปี (2559-2563) ด้านบริหารจัดการของผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในด้านการอนุรักษ์พลังงานช่วงปี พ.ศ.2561  ซึ่งเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดตาม นโยบายและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรระยะ 10 ปี (2560-2569) ในกลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green and clean university) ในมาตรการที่ 5 พัฒนาด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยให้มีระบบที่เอื้อต่อการเรียน การสอน การวิจัย การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ (The Best place to live, to work and to study) สำนักหอสมุดจึงได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการดำเนินงานห้องสมุด