สำหรับบุคลากรที่ต้องให้บริการที่เคานเตอร์บริการยืม-คืน ช่วงทำการปกติ หรือช่วงล่วงเวลา บางทีอาจจะมีอาจารย์ หรือนิสิตปริญญาโท-เอก โทรมาสอบถาม เรื่องข้อมูลของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์เผยแพร่ หลายท่านอาจจะไม่ทราบ จึงขอแนะนำคร่าวๆเป็นเบื้องต้นนะคะ

ค่า Journal Impact Factor

อันนี้เป็นค่าที่เป็นตัวเลข ที่คำนวณให้สำหรับวารสารที่จัดว่ามีคูณภาพ พูดง่ายๆคือ เป็นสถิติเฉลียของการที่บทความในวารสารถูกนำไปอ้างในรอบปีนั้นๆ ถ้ามีคนถามว่า ค่า Impact Factor ของวารสารเท่าไหร่ ของวารสารไทย จะใช้ค่าล่าสุดปี 2561 ซึ่งศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ TCI เป็นคนกำหนดนะคะ จะมีลิงก์อยู่ในเว็บไซต์นี้ https://tci-thailand.org/?page_id=1471

สำหรับค่า Impact Factor ของต่างประเทศ จะใช้ข้อมูลปี 2019
ซึ่่งมีไฟล์ที่ใช้ตรวจสอบเป็น Excel (งานบริการสนับสนุนวิจัยมีสำเนาดาวโหลดจากแหล่งหรีไว้ เพราะเราไม่ได้บอกรับฐานข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบโดยตรง) แต่งานบริการสนับสนุนวิจัย ได้ร่วมกับงานเทคโนโลยีห้องสมุด พัฒนาระบบสืบค้นฐานข้อมูลสืบค้นวารสารสำหรับตีพิมพ์ในระดับนานาชาติให้ ผู้ใช้หรือเจ้าหน้าที่จะสามารถค้นได้จากฐานนี้เลยค่ะ จะมีข้อมูลของวารสารให้ทั้งค่า Impact Factor และค่า Quartile
http://10.10.26.52/m/journalif/ หรือ http://www.lib.nu.ac.th/m/journalif/ แต่จะจำกัดการใช้เฉพาะในเครือข่ายมหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ

อ้อ ค่า Journal Impact Factor จะใช้เฉพาะสำหรับวารสารที่ปรากฎในฐานข้อมูล ISI Web of Science นะคะ ซึ่งฐาน ISI Web of Science จะมีข้อมูลที่ใช้บอกคุณภาพของวารสาร คือค่า Impact Factor และค่า Quartile

ค่า SJR Quartile 

ค่า SJR Quartile จะเป็นค่าที่กำหนดระดับคุณภาพของวารสาร คนละตัวกับ Quartile ของ ISI Web of Science นะคะ แต่มันดันใช้ชื่อเลียนแบบให้เหมือนกัน

ค่า SJR Quartile จะเป็นค่าที่ Lab ของฐานข้อมูล SCOPUS กำหนดขึ้น ฉะนั้นค่า SJR Quartile ก็จะใช้เฉพาะสำหรับวารสารที่ปรากฎในฐานข้อมูล SCOPUS 

Quartile จะมี 4 ระดับค่ะ

Quartile 1 Quartile 2 Quartile 3 Quartile 4 

ตัวอย่างของ Quartile ของวารสารใน SCOPUS

อาจจะใช้สัญลักษณ์สั้นๆว่า Q ก็ได้

ถ้าคุณภาพสูงจะเป็น Q1  ส่วน Q4 ก็จะมีคุณภาพน้อยกว่าเพื่อน

ที่มาของ SJR Quartile ค้นได้จากเว็บไซต์ scimago นี้ค่ะ https://www.scimagojr.com/

** ถ้าต้องการดูรายละเอียด หรือศึกษาเพิ่มเติม มีในเว็บไซต์เยอะพอสมควร แต่ที่น่าเชื่อถือสุด จะเป็นเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหิดลค่ะ ดร รุจเรขา ท่านได้เขียน blog ไว้ละเอียดเลย **  https://stang.sc.mahidol.ac.th/research/if.php

กรณีถ้าผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลแล้วรอได้ แนะนำให้กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ Journal Impact Factor ผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด ตามลิงก์นี้เลยค่ะ

http://www.lib.nu.ac.th/weblib/researchsupport/jif.php

บริการของห้องสมุดจะหาข้อมูลให้ทั้งค่า Impact Factor และ ค่า Quartile ทั้ง 2 ค่าย ทั้ง ISI Web of Science และ SCOPUS หรือถ้าเป็นวารสารภาษาไทย ก็หาข้อมูลค่า Impact Factor จาก TCI พร้อมระบุให้ด้วยว่าอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2

หรืออาจจะ email มาที่ reference@nu.ac.th โดยตรงก็ได้ค่ะ

—> ไว้คราวหน้าจะเขียนแนะนำเรื่อง Beall’s List อีกเรื่องให้อ่านนะคะ เผื่อมีนศ หรืออาจารย์สอบถามมาค่ะ